วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ความหมายของสารฟอร์มัลดีไฮด์



ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์  ทั้งสองตัวในทางเคมีคือสารตัวเดียวกันเพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน” ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน “ฟอร์มัลดีไฮด์” มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติ  มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายทั่วไปจะอยู่ในรูปของสารละลายน้ำ ภายใต้ชื่อ น้ำยาฟอร์มาลีน
โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูงจะกลายเป็นกรดฟอร์มิกจึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์เช่น เมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายยในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์  มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมายที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ  ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์”  หรือ  “ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์”  ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้  ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น
ฟอร์มาล​​ดีไฮด์เป็นส่วนประกอบในยูเรียฟอร์มาล​​ดีไฮด์ฉนวนโฟม (UFFI) ประเภทของฉนวนกันความร้อนนี้ถูกติดตั้งในบ้านจำนวนมากในช่วงปี 1970 และต้นทศวรรษ 1980 เนื่องจากความกังวลเรื่องสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ UFFI ความต้องการสำหรับสินค้านี้กลายเป็นที่ที่ไม่มีอยู่จริงและได้รับการไม่ค่อยใช้มาตั้งแต่ 1983 แม้ว่าบ้านเก่าอาจยังคงมี UFFI ใด ๆ ที่เผยแพร่ฟอร์มาล​​ดีไฮด์จะเกิดขึ้นในห้าปีแรกหลังจากการติดตั้งและจะไม่เป็นสาเหตุสำหรับกังวล

ข้อมูลทางเคมีของสารฟอร์มัลดีไฮด์


ชื่อทางเคมี (Chemical Name)
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 
หมายเลข CAS Registry (CAS Registry Number)
000050-00-0 
ชื่อพ้อง (Synonyms)
Formaldehyde; Formalin; Methanal; Formic aldehyde; Methaldehyde 
ชื่อ IUPAC (IUPAC Name):
Formaldehyde
หมายเลข CAS (CAS Number)
8013-13-6
น้ำหนักโมเลกุล (molecular formula)
30.03 
สูตรเคมี (Chemical Formula)
CH2O
โครงสร้างทางเคมี


ลักษณะทั่วไปของฟอร์มัลดีไฮด
          ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลีนเป็นสารละลายใส ไม่มีสีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  เป็นสารรีดิวซ์รุนแรง  เมื่อสัมผัสกับอากาศจะถูกออกิไดส์ช้าๆ ไปเป็นกรดฟอร์มิกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน มีค่า pH ประมาณ 2.8-4.0  สามารถรวมตัวได้กันน้ำ แอลกอฮอล์แต่ฟอร์มาลีนไม่สามารถใช้รวมกับสารดังต่อไปนี้ คือ ด่างทับทิม  ไอโอดีน  และไฮโดรเจนเปร์ออกไซด์ ถ้าเป็นฟอร์มาลีนที่เก็บไว้นานหรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ (4.4 องศาเซลเซียส)  ฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปไปเป็นพาราฟอร์มัลดีไฮด์  ซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอนสีขาวไม่ควรนำไปใช้เพราะจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

แหล่งที่มาของสารฟอร์มัลดีไฮด์

          ฟอร์มาลินเป็นสารที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และสิ่งทอ ดังนั้นจึงสามารถพบฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งเป็นไอระเหยที่เป็นพิษได้จากวัสดุ สังเคราะห์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น กาว (วิทยาศาสตร์) ฝ้าเพดานสำเร็จรูป ผ้าใยสังเคราะห์ เตาแก๊สหุงต้ม สีทาบ้าน น้ำยาเคลือบเงาไม้ วัสดุบุผิว เฟอร์นิเจอร์ พาร์ติเคิลบอร์ด พรมสังเคราะห์ กระดาษทิชชู  น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งไอระเหยฟอร์มาดีไฮด์นั้นจัดเป็นสารพิษในอากาศ ทำให้เกิดมลพิษในอากาศและถ้าพบฟอร์มาดีไฮด์ในปริมาณมากก็อาจเป็นอันตรายกับ ผู้ที่ได้รับได้  แหล่งใหญ่อีกแหล่งที่มีการปลดปล่อยไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์ คือผ้าม่นและเสื้อประเภทรีดง่ายแต่ยับยาก
                ไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์มีอยู่ใกล้ตัวภายในบ้านของเรา  ในบ้านที่ทาแลคเกอร์เคลือบพื้นไม้  ปูพรมที่พื้น  ผนังมีวอลล์เปเปอร์  อยู่ในเครื่องเรือนที่ใช้ไม้อัดและวัสดุที่เรียกว่า พาร์ทิเคิล บอร์ด (particle board) ที่ใช้ทำตู้ โต๊ะ และเครื่องเรือนต่างๆ  สำหรับคนรักสวยรักงามที่ชอบเคลือบเล็บด้วยสารพันสีสัน  ก็ต้องพบกับไประเหยของฟอร์มัลดีไฮด์เช่นกัน  และเมื่อเทียบกันแล้ว  ปริมาณไอระเหยที่ปลดปล่อยออกมาจากยาทาเล็บนั้นสูงกว่าปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ที่ปลดปล่อยออกมาจากไม้อัดที่มีพื้นที่เท่ากันเสียอีก  แต่คนที่หลงใหลสีสันบนเล็บมือเล็บเท้า ก็อย่าเพิ่งตกใจเพราะถึงแม้ยาทาเล็บจะปลดปล่อยไอระเหยออกมามากกว่าแต่ในชีวิตจริงแล้ว  พื้นที่ทั้งหมดของเล็บมือรวมกันทั้งเล็บเท้า  ก็ยังจัดว่าน้อยนิด  เมื่อเทียบกับพื้นกระดานที่เคลือบแลคเกอร์ทั้งฟลอร์  วอลล์เปเปอร์ติดผนัง   4 ด้าน หรือ  จะเปรียบเทียบกับตู้หลังใหญ่ที่ประกอบจากไม้อัด ก็ยังเทียบกันไม่ได้อยู่ดี


ลักษณะอาการ

การสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดอาการดังนี้
Ø หากสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์ ถ้าเกิน 0.1 ppm จะทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน คือ แสบตาและระคายเคืองในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการอักเสบ มีอาการไอ แน่นหน้าอกหอบคล้ายเป็นหืด อาจถึงขั้นเป็นปอดอักเสบ  หรือปอดบวมน้ำเฉียบพลัน
Ø ถ้ามีการสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์ ที่มีความเข้มข้นสูงมากๆ ตั้งแต่ 100 ppm ขึ้นไป อาจทำให้ตายได้
Ø หากมีการสัมผัสถูกสารละลายโดยตรงทางผิวหนัง  จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ เกิดอาการคันทันที
Ø เมื่อมีการสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์เป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งคอหอยส่วนจมูก


การใช้ประโยชน์

             ฟอร์มาลินเป็นสารที่นิยมใช้กันในหลายด้าน ดังนี้
      1. ด้านการแพทย์ 
             - ใช้ในการเก็บรักษา anatomical specimens เพื่อคงสภาพของเนื้อเยื่อไม่ให้เน่าเสีย
            - ใช้สารละลายฟอร์มาลินสำหรับฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องฟอกเลือด (เครื่องล้างไต) เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน
             - นอกจากนี้ ไอระเหยของฟอร์มาดีไฮด์สามารถนำมาอบห้องฆ่าเชื้อโรคตามโรงพยาบาลได้ด้วย
             - สารละลายฟอร์มาลินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา




      2. เครื่องสำอาง 
             - ใช้ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก สบู่ ครีมโกนหนวด เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้เป็นส่วนประกอบในความเข้มข้นที่ต่ำมาก
             - ใช้ในเครื่องสำอางเพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก
             - ใช้ในน้ำยาดับกลิ่นตัว และอื่นๆ
             - ใช้เป็นส่วนประกอบของแชมพูที่ใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง
      3. ด้านอุตสาหกรรม 
             - สารประกอบเชิงซ้อนของฟอร์มาลินมีคุณสมบัติทำให้ผ้า และกระดาษแข็งเกาะกัน จึงนำมาใช้ในการทำบอร์ด หรือไม้อัด ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อผลิตผงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะน้ำหนักและความแข็งแรงของไหม สังเคราะห์ ใช้ในการรักษาผ้า ไม่ให้ยับ หรือย่น ในอุตสาหกรรมกระดาษ เพื่อให้กระดาษลื่นและกันน้ำได้
             - ฟอร์มาลินมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ (urea – formaldehyde) หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ (phenol – formaldehyde) ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น และใช้ในการผลิตเรซิน (melamine – formaldehyde)
             - ใช้ในการสังเคราะห์สีต่างๆ เช่น สีคราม สีแดง สีอะครีลิก
             - ใช้ในการย้อมเพื่อปรับปรุงให้สีและสีย้อมติดแน่นขึ้น
             - ใช้ในการฟอกสีและการพิมพ์ และฟอกหนัง เป็นต้น
             - ใช้ในการผสมโลหะ เพื่อระงับการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน
             - ใช้สำหรับถ่ายภาพ ทำให้เก็บรักษาได้นาน 




4. ด้านการเกษตร 
             - ใช้สำหรับการทำลายและป้องกันจุลินทรีย์และต้นไม้ที่เป็นโรค
             - ใช้ป้องกันผลิตผลเกษตรจากการเสียหายระหว่างการขนส่ง และการเก็บรักษา
             - ใช้ฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อราในดิน
             - ใช้ทำความสะอาดสถานที่เก็บอุปกรณ์ เช่น ลังไม้
             - ใช้เป็นส่วนผสมของสารละลายที่ใช้เคลือบผัก ผลไม้จำพวกส้มระหว่างการเก็บเกี่ยวเพื่อชะลอการเน่าเสีย
             - ใช้เป็นปุ๋ย
             - ใช้ในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อป้องกันการเกิดโรคในปลา

ขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ไม้อัด มาตรฐานใช้ภายนอก  (ลดการปล่อยสาร เพราะมีส่วนผสมของฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน-(PF), ไม่ใช่ยูเรียฟอร์มาล​​ดีไฮด์เรซิน - (UF))
  •  ใช้เครื่องปรับอากาศ และ dehumidifiers เพื่อรักษาอุณหภูมิในระดับปานกลาง และลดระดับความชื้น
  • เพิ่มการระบายอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นำแหล่งที่มาใหม่ของฟอร์มาล​​ดีไฮด์เข้าในบ้าน


อันตรายจากฟอร์มัลดีไฮด์

      ในกรณีที่เราได้รับในปริมาณต่ำร่างกายสามารถกำจัดได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงขึ้นหรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ฟอร์มัลดีไฮด์จะเปลี่ยนเป็นกรดฟอร์มิก (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายการทำงานของเซลล์ในร่างกาย  ทำให้เซลล์ตายได้  ฟอร์มัลดีไฮด์นั้นมีพิษต่อระบบต่างๆเกือบทั่วทั้งร่างกาย  ดังนี้

  • ฟอร์มัลดีไฮด์จะมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ  หากได้รับรูปของไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์  แม้จะปริมาณต่ำๆ ถ้าถูกตาจะระคายเคืองตามาก  ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้หลอดลมบวม  ทำให้แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด  ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเขาไปมากๆจะทำให้น้ำท่วมปอดจนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด  อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวด เลยก็ได้  หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  • ฟอร์มัลดีไฮด์จะมีพิษร้ายแรงต่อระบบทางเดินอาหาร  เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มัลดีไฮด์ในปริมาณมาก จะทำให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง  หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก  ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน  ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบ  เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากได้รับสารนี้โดยการบริโภค จะเกิดอาการพิษโดยเฉียบพลัน  ซึ่งอาการมีตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ  ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว  ถ้าหากได้รับในปริมาณ 60-90 ซีซี  จะทำให้การทำงานของตับ ไต หัวใจ และสมองเสื่อมลง  และก่อให้เกิดการปวดแสบปวดร้อนที่คอและปาก  เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้องอย่างรุนแรง  หมดสติ  นอกจากนี้ยังพบว่าฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งด้วย
  • ฟอร์มัลดีไฮด์มีผลต่อผิวหนัง  เมื่อสัมผัสจะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ทำให้เกิดผื่นคัน  เป็นผื่นแดงเหมือนลมพิษ  จนถึงผิวหนังไหม้เป็นสีขาวได้หากสัมผัสโดยตรง


การควบคุมป้องกัน


Ø หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารฟอร์มัลดีไฮด์ ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสให้ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากป้องกันทางเดินหายใจ สวมถุงมือ กระบังหน้า
Ø ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ไม่ควรทำงานกับสารฟอร์มัลดีไฮด์
Ø จัดให้มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอในสถานที่ทำงานและระบบดูดอากาศเฉพาะที่
Ø หาสารอื่นที่มีพิษน้อยกว่ามาทดแทน เช่น ใช้สารglutaraldehyde แทน
Ø เฝ้าคุมสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ เพื่อตรวจหาความเข้มข้นของฟอร์มัลดีไฮด์ในอากาศ

การลดปริมาณสารฟอร์มัลดีไฮด์ในอาคารและบ้านเรือน

Ø  เทคโนโลยี  Air Detoxify Paint 


                   จากเทคโนโลยีล่าสุดที่เรียกว่า “Air Detoxify Paint” สีฟอกอากาศ จะทำให้เราปลอดภัยจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ได้มากกว่าเดิม

                Air Detoxify Paint เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีของสีทาผนังอาคาร ซึ่งทำให้สีมีคุณสมบัติคล้ายกับ “เครื่องฟอกอากาศ” โดยสีจะทำการ ยับยั้ง ป้องกัน และย่อยสลาย แบคทีเรีย เชื้อรา  และสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่ลอยอยู่ในอากาศให้ลดลงได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์  ภายในระยะเวลา 24-40 ชั่วโมง จากการทดสอบที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย


              Super Shield DURACLEAN OXYGEN plus เป็นผลิตภัณฑ์สีล่าสุด ที่ได้นำเทคโนโลยี Air Detoxify Paint มาใช้เพื่อทำให้ผนังอาคารสามารถดูดซับสารพิษในอากาศ  และกลิ่นอับชื้นจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ตามต้องการ  และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องของกลิ่นฉุนสีที่มักจะมีกลิ่นฉุนซึ่งทำให้ต้องทิ้งระยะเวลาเป็นอาทิตย์เพื่อให้กลิ่นเหล่านั้นจางหายไป  แต่ด้วยเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ทำให้กลิ่นฉุนของสีหายไปทันทีภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากการทาสี ซึ่งทำให้สามารถเข้าใช้งานได้แทบจะทันทีหลังจากทาสีเสร็จอีกด้วย




แหล่งที่มาข้อมูล :

http://www.baanlaesuan.com/onlyonweb.aspx?articleId=113
http://www.thaigoodview.com/node/24973
http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/kitchen-room/formaldehyde.html
http://trubwd.surat.psu.ac.th/lab/standard/direction%20lab/Formaldehyde/Formaldehyde.pdf
                http://www.srbr.in.th/Health/formaldehyde.htm